เทศบาลตำบลบ้านยาง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา :www.banyangkorat.go.th

 
 
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

การบริการพื้นฐาน

1.  การคมนาคม


1.1  การคมนาคมติดต่อกับตำบล และกิ่งอำเภอ
-   มีเส้นทางหลักคือถนนลาดยางจากอำเภอลำทะเมนชัย ผ่านตำบลช่องแมว ถึงตำบลบ้านยาง ระยะทาง 20 กิโลเมตร ใช้ติดต่อกับอำเภอลำทะเมนชัย กับตำบลใกล้เคียง
            
1.2   การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล

-   สภาพถนนส่วนใหญ่ยังเป็นถนนลูกรังและหินคลุก ร้อยละ 90 ทำให้การเดินทาง ไม่สะดวก โดยเฉพาะในฤดูฝน ประชาชนได้รับความลำบากมาก
-   ในหมู่บ้านบางหมู่บ้านมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ยังไม่เพียงพอที่จะอำนวย ความสะดวกให้กับประชาชน      สรุปถนนภายในตำบล

-   ถนนลูกรัง/หินคลุก 18 สาย
-   ถนนลาดยาง  1 สาย
-   ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  9 สาย

   

2.  การโทรคมนาคม

-  ตู้โทรศัพท์สาธารณะ  15 แห่ง
-  โทรศัพท์บ้าน  18 แห่ง


3.   การไฟฟ้า

-  มีไฟฟ้าใช้ 1,404 ครัวเรือน    
-  ไม่มีไฟฟ้าใช้ 79 ครัวเรือน

ด้านสังคม

-  ลูกเสือชาวบ้าน   25 รุ่น 321 คน
-  ไทยอาสาป้องกันชาติ   11 รุ่น 143 คน
-  กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ    20 รุ่น 28 คน
-  อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน   122 คน    
-  คณะกรรมการหมู่บ้าน   200 คน    
-  หอกระจายข่าว    18 แห่ง  

 

ด้านเศรษฐกิจ

 

1. อาชีพ  

ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 มีอาชีพทำนา ร้อยละ 10 มีอาชีพทำไร่   และอาชีพอื่นๆ อีกร้อยละ 10 มีฐานะค่อนข้างยากจน รายได้เฉลี่ยต่อปี 26,245 บาท/ปี   (ข้อมูล จปฐ.ปี 2549)
        
2  การเกษตรกรรม  

ตำบลบ้านยางมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น  36,915 ไร่ ครอบครัวเกษตรจำนวน1,510 ครัวเรือน  สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้.-

 

ตาราง    แสดงพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลบ้านยาง

ที่ พืชเศรษฐกิจ พื้นที่ปลูก  (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ย (ตัน/ปี) จำนวนครัวเรือน
1 ข้าว 15,855 6,167 1,345
2 อ้อย 1,627 560 70
3 มันสำปะหลัง 1,100 1,180 47
4 ปอแก้ว 651 - 28
5 มะพร้าว 26 29 30
6 มะม่วง 49 168 30
รวม
 
19,306 8,104 1,551

 

การปศุสัตว์


ตาราง  แสดงจำนวนการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านยาง

 

ที่ สัตว์เลี้ยง จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ราย)
1 โคเนื้อ 1,853 289
2 กระบือ 700 203
3 สุกร 317 44
4 ไก่ 12,403 515
5 เป็ด 1,016 115
รวม
 
16,299 1,166

 

การพาณิชย์ และหน่วยธุรกิจใน พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านยาง

-  มีร้านค้าเบ็ดเตล็ด  ชองชำ 30 ร้าน
-  ขายน้ำมัน  ( มือหมุน ) 17 แห่ง
-  ศูนย์สาธิตการตลาด/ศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชน 2 แห่ง
-  โรงสีข้าวขนาดเล็ก  47 แห่ง
-  หล่อเสาปูน 1 แห่ง

 

ด้านการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

 

1  การศึกษา  

-   โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จำนวน 6 แห่ง
-   ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง
-   ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง
-   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง


ตารางแสดงรายชื่อโรงเรียนและจำนวนนักเรียน
ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ตำบลบ้านยาง

ที่
 
อำเภอ
 
รายชื่อโรงเรียน
 
จำนวนนักเรียน
 
จำนวนนักเรียน

 
ก่อนประถม(คน) ป.1 - ป.4 (คน) รวม(คน) ก่อนประถม(คน) ป.1 - ป.6(คน) รวม(คน)
1 ลำทะเมนชัย โรงเรียนบ้านหนองยาง 30 65 95 30 91 121
    โรงเรียนบ้านหนองม่วงวิทยาคาร 66 163 229 66 246 312
    โรงเรียนหนองอ้อวิทยาคม 40 76 116 40 111 151
    โรงเรียนบ้านหนองดู่ 20 52 72 20 69 89
    โรงเรียนบ้านหินแร่หนองนกเป็ดวิทยา 57 60 117 57 91 148
    โรงเรียนบ้านโสกดู่ 18 39 57 18 62 80
รวม 231 455 686 231 670 901

 
ตารางแสดงจำนวนเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลบ้านยาง

ที่ อำเภอ ราชื่อศูนย์เด็กเล็ก จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก จำนวนเด็กเล็ก หมายเหตุ
1 ลำทะเมนชัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองยาง
2 15 * จัดตั้ง ฯ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองอ้อ 1 25 * จัดตั้ง ฯ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่ 1 14 * จัดตั้ง ฯ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหินแร่ 1 23 * จัดตั้ง ฯ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองม่วง 2 54 *  ถ่ายโอน สปช.
รวม 7 131  


สถาบันและองค์กรทางศาสนา


-   วัดในพุทธศาสนา    12    แห่ง
-   ขนบธรรมเนียมประเพณี  ประชากรตำบลบ้านยาง นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณี
แห่เทียนเข้าพรรษา ตักบาตรเทโวโรหนะ ประเพณีงานสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง  วันสำคัญทางศาสนาต่างๆ  และการทำบุญตามฮีตสิบสองคองสิบสี่

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรดิน

ตำบลบ้านยางมีลักษณะดินโดยทั่วไป  แบ่งตามบริเวณพื้นที่ของตำบลออกเป็น 2  ส่วน คือ พื้นที่บริเวณทางด้านทิศเหนือ  เป็นดินเหนียวแดงปนทราย  มีการระบายน้ำเลว เนื้อดินเป็นดินทรายปนกรวด  ปฏิกิริยาของดินเป็นกลางถึงกรด  ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูง

พื้นที่บริเวณทางทิศใต้เป็นดินลึก  มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว เนื้อดินส่วนใหญ่ชั้นบนเป็นดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลปนเทา  ใต้ชั้นบนหรือกลางเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลถึงสีชมพู  ชั้นล่างเป็นดินดินร่วนปนดินเหนียว  หรือดินเหนียวสีเทาอ่อนหรือสีเทามีจุดประตลอดชั้นดิน  ดินนี้เกิดจากตะกอนลำน้ำที่มีอายุ  พบอยู่บริเวณตะพักลำน้ำระดับต่ำ พื้นที่มีลักษณะเกือบจะราบเรียบ  ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดปานกลางตอนบน และเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดจัดตอนล่าง ความเหมาะสมของดินมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวในฤดูฝน

ทรัพยากรแหล่งน้ำ

1.  แหล่งน้ำธรรมชาติ  
ตำบลบ้านยางอยู่ในลุ่มน้ำลำทะเมนชัย  ปริมาณน้ำจะหลากในฤดูฝน ฤดูร้อนจะไม่มีน้ำในลำห้วย   และมีแหล่งน้ำในพื้นที่ดังนี้

-  ลำน้ำ  ลำห้วย 9 สาย
-  บึง  หนอง และอื่น ๆ 16 แห่ง

         
2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น


-   ฝาย 
7 แห่ง ใช้การได้   2  แห่ง
-   บ่อน้ำตื้น 6 แห่ง
-   บ่อโยก 36 แห่ง  ใช้การได้  1  แห่ง
-   ประปาหมู่บ้าน 7 แห่ง
-   ถังเก็บน้ำ  10 แห่ง
-   สะพาน   คสล. 4 แห่ง

    
3. ทรัพยากรป่าไม้
เทศบาลตำบลบ้านยาง มีพื้นทีป่าไม้ 7,478  ไร่ เป็นพื้นที่ป่าชุมชน 6  แปลง  ในหมู่  1, 5 , 6 , 8   และหมู่  9,10 ,13   รวมพื้นที่  2,989  ไร่  1  งาน  151  ตารางวา


 

การเมือง และด้านการบริหารเทศบาลตำบลบ้านยาง


  คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านยาง   และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านยาง


ตาราง แสดงคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านยาง   และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านยาง

ลำดับที่ ชื่อ - สกุล
 
 ตำแหน่ง
1 นางสาวสุพารัตน์ บุญเที่ยง นายกเทศมนตรีฯ
2 นายอำนวย เชื้อนิด รองนายกเทศมนตรีฯ
3 นายบรรจง คำด้วง รองนายกเทศมนตรีฯ
4 นางสาวเกียรติสุดา ทับวอ เลขานุการนายกเทศมนตรีฯ
5 นางสงวน เนียนไธสง ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีฯ
6 นางจิตสวย ศรฤทธิ์ เขต 2 ประธานสภาฯ
7 นางศิรกาญจน์ พิบูลเกียรติขจร เขต 2 รองประธานสภาฯ
8 นายสง่า เจริญรัมย์ เขต 1 สท.
9 น.ส.ปวรวรรณ บุญเขื่อง  เขต 1 สท.
10 นายทองปอน   วินทะไชย เขต 1 สท.
11 นายเกรียงไกร   ป้องไธสง เขต 1 สท
12 นางสนั่น   เนียนไธสง เขต 1 สท.
13 นายสุพรรณ   ตะบุบผา เขต 1 สท.
14 นายธณบวร เที่ยงน้อย เขต 2 สท.
15 นายเทียบ   สีภา เขต 2 สท.
16 นายสุคธีร์   แย้มศรี เขต 2 สท.
17 น.ส.ธนวรรณ   สีม่วงงาม   เขต 2 สท.



ด้านสาธารณสุข

        -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง / หมู่บ้าน    1      แห่ง (คนไข้เฉลี่ย 820 คน/เดือน)
        -  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ         100    เปอร์เซ็นต์

 

การปกครอง

      แบ่งการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่  พ.ศ. 2457  จำนวน 17 หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด

ประชากร

      ตำบลบ้านยางมีประชากรทั้งสิ้น 5,994  คน แยกเป็นชาย 2,984  คน หญิง  3,006  คน  มีความหนาแน่นต่อพื้นที่  ประมาณ  64.21  คน / ตารางกิโลเมตร  มี  1,360   ครัวเรือน

 

ตาราง 1  แสดงการเปรียบเทียบจำนวนครัวเรือนของประชากรตำบลบ้านยาง

หมู่ บ้าน 2555 2556
1 หนองยาง 170 194
2 หัวขัว 58 60
3 หนองม่วง 121 125
4 โสกดู่ 120 130
5 หนองเชือก 33 42
6 หินแร่ 127 141
7 ห้วยผักหนาม 80 85
8 หนองอ้อ 102 107
9 หนองนกเป็ด 77 87
10 หนองดู่ 145 151
11 อรุณพัฒนา 77 105
12 ม่วงเหนือ 135 148
13 อ้อ 16 17
14 หนองตาด 29 31
15 ยาง 69 72
16 หนองดู่น้อย 23 26
17 หัวขัวใหม่ 80 93
รวม
 
1,462 1,614

 

ตาราง  2  แสดงการจำนวนประชากรทั้งหมดของตำบลบ้านยาง

หมู่
 
ตำบล/หมู่บ้าน
 
จำนวนครัวเรือน
 
จำนวนผู้มิสิทธิเลือกตั้ง
 
จำนวนประชากร

 
ชาย หญิง รวม
1 หนองยาง 194 634 404 377 781
2 หัวขัว 60 170 134 113 247
3 หนองม่วง 125 448 320 296 616
4 โสกดู่ 130 438 280 287 557
5 หนองเชือก 42 141 84 98 182
6 หินแร่ 141 493 320 318 638
7 ห้วยผักหนาม 85 276 164 204 368
8 หนองอ้อ 107 375 265 250 515
9 หนองนกเป็ด 87 281 206 185 391
10 หนองดู่ 151 527 343 321 664
11 อรุณพัฒนา 105 232 162 163 325
12 ม่วงเหนือ 148 544 365 371 736
13 อ้อ 17 48 31 32 63
14 หนองตาด 31 113 73 69 142
15 ยาง 72 230 156 136 292
16 หนองดู่น้อย 26 91 64 64 128
17 หัวขัวใหม่ 93 291 188 221 409
รวม 1,614 5,332 3,549 3,505 7,054

 

 หมู่บ้านในตำบล

 

หมู่ บ้าน
1 หนองยาง
2 หัวขัว
3 หนองม่วง
4 โสกดู่
5 หนองเชือก
6 หินแร่
7 ห้วยผักหนาม
8 หนองอ้อ
9 หนองนกเป็ด
10 หนองดู่
11 อรุณพัฒนา
12 ม่วงเหนือ
13 อ้อ
14 หนองตาด
15 ยาง
16 หนองดู่น้อย
17 หัวขัวใหม่